พระสัทธิวิหาริก สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์(ประจวบ กนฺตาจาโร) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม,อดีตผู้รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต,อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฏฯ กทม.,อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(เป็นอธิการบดี ที่ยาวนานที่สุด)ท่านได้นำผงพระสมเด็จวัดระฆัง - บางขุนพรหม ใส่ลงไปใน พระสัทธิวิหาริก ชุดนี้ด้วย
ประวัติการจัดสร้างพระสัทธิวิหาริก
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ สร้างเพื่อมอบให้กุลบุตรที่ท่านบวชให้และลาสิกขากับท่าน ความสำคัญคือท่านมอบให้ในฐานะพระอุปัชฌาย์ จะบอกไปคือในฐานะพ่อให้ลูก ในเมื่อท่านเป็นผู้ดำริสร้างสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดา โดยกราบอาราธนาให้สมเด็จพระญาณสังวรเป็นแม่งาน ในการนี้สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ สร้างพระสัทธิวิหาริกเป็นครั้งแรกนับว่าเป็นพระเครื่องที่ทรงคุณค่าอย่างสูงสุดสำหรับ สัทธิวิหาริก ในพระเดชพระคุณท่าน
พระสัทธิวิหาริก เป็นพระเครื่องรุ่นเเรกเเละรุ่นเดียวบนโลกใบนี้ที่เรียกพระเครื่องเช่นนี้ เป็นพระเครื่องที่เกิดจากดำริเดิมของ สมเด็จพระสังฆราช จวน อุฏฐายี ดำริจะสร้างสมัยมีพระชนต์ชีพ แต่ยังไม่เเล้วเสร็จ สิ้นพระชนต์ไปเสียก่อน ซึ่งเเนวคิดการสร้างพระสัทธิวิหาริก ได้จากการที่ สมเด็จพระสังฆราชจวน เห็นท่านพ่อลี วัดอโศการาม สร้างพระใบโพธิ์ ดินเผา จึงอยากจะสร้างเช่นนั้นบ้างนั่นเอง ซึ่งท่านพ่อลี วัดอโศการาม ได้มอบดินสังเวชนียสถานให้ วัดมกุฏกษัตริยารามไว้ สมัยมีชีวิต ต่อมา สมเด็จพระพุทธชินวงศ์จึงเริ่มสร้างพระพิมพ์สัทธิวิหาริกเริ่มสร้างตั้งเเต่ปี 2516-2519 เมื่อพระสำเร็จเสร็จสิ้นสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จึงนำพระสัทธิวิหาริกเข้าพิธีเดียวกันกับ สมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดา และสมเด็จนางพญา ปี2519 เเละเข้าพิธี สมเด็จนางพญา สก ปี 2522 รุ่นพระราชทาน
รวมทั้งมีการนำพระสัทธิวิหาริกนี้ไปขอความเมตตาพระกรรมฐานอธิษฐานจิตเดี่ยว อาทิ
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
หลวงปู่ขาว อนาลโย
พระอาจารย์เทศน์ เทศน์รังสี วัดหินหมากเป้ง
หลวงปู่เเหวน วัดดอยเเม่ปั๋ง
เเละพระกรรมฐานอีกหลายรูปที่หลวงพ่อ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ คุ้นเคย
เเละปลุกเสกมาโดยตลอด
รูปแบบ พระพุทธรูปศิลปะปาละ นั่งขัดสมาธิเพชร เฉกเช่นการสร้างพระเกตุ เเละมีรัศมีโดยรอบ นั่งประทับบนบัวคว่าบัวหงายสองชั้น
ด้านหลังมีตราวัดมกุฏกัษตริยาราม คือเป็นตรามงกุฏเเละฉัตรสองข้าง
ด้านล่างมีอักขระ ภาษาขอม เขียนว่า
วิขะสะกะ
ย่อมาจาก
วิริยะ ขันติ สัจจะ เเละกตัญญู
ซึ่งเป็นคติธรรมในพระพุทธศาสนาซึ่งใครได้ประพฤติปฏิบัติย่อมนำมาซึ่งเหตุเเห่งความสุข ความสำเร็จ เเละความเจริญเป็นแน่เเท้
จำนวนการสร้างไม่ได้มีใครบันทึกไว้ เเต่คาดเดากันว่าสร้างจำนวน3000องค์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น